วิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
                                      
ถั่วโหลง (แปหล่อ)










การปลูกถั่วหลวง

เริ่มปลูกในช่วงเดือน ตุลาคม จนถึงฤดูเก็บเกี่ยวคือเดือนกุมภาพันธ์ การปลูกจะไม่มีการจัดทำพื้นที่ปลูกใด ๆ เมื่อเริ่มตัดงาเสร็จก็จะมีการเริ่มปลูกไปธรรมดาโดยการขุดดินพอประมาณ 3 เซนติเมตร และหยอดเมล็ดลงไปทำการกลบฝัง ระยะห่างกันประมาณ 1 วา หรือ 1 เมตรเพราะถั่วโหลงเป็นพืชชนิดเลื่อยคลานเจริญเติบโตได้ดี เป็นพืชสวนเมื่อโตแล้วจะเลื้อยไปพันกันคล้ายถั่วแปบจะออกดอกเป็นสีขาว ภายในต้นเดือนมกราคมจะมีฝักสีเขียวสดและจะเหลืองภายในเดือนกุมภาพันธ์ฝักจะมีสีน้ำตาลจะมีความมันที่ฝักและจะมีกลิ่นเหม็น หากเก็บเกี่ยวกลิ่นถั่วหลวงจะติดตามร่างกาย เมื่อเก็บเมล็ดจะนำมาตากแดดเพื่อความกรอบของเปลือกเพื่อจะทำการตำ โดยใช้ครกมองเพื่อเอาเมล็ด เมื่อได้เมล็ดแล้วจะนำไปตากไล่ความชื้นควรตากแดดบ่อย ๆ กันเชื่อราและมอดมาเจาะจะทำให้ถั่วโหลงเสียหายได้ (ศรีจันทร์ วิจิตร : 26/09/2550 )

การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยทั้งหมดก่อนปลูกหรือพร้อมการปลูกโดยหยอดบริเวณก้นหลุมหรือก้นร่องแถวก่อนปลูก แล้วจึงหยอดเมล็ด หรือใส่ปุ๋ยหลังปลูกโดยการเปิดร่องตื้นๆ แล้วโรยปุ๋ยตามแนวร่องห่างจากโคนต้น ถั่วโหลงประมาณ 10 เซนติเมตร ( 1 ฝ่ามือ) แล้วไถกลบ พร้อมกับการกำจัดวัชพืชครั้งแรก
 เมื่อถั่วโหลงอายุ 15-20 วัน (ศรีจันทร์ วิจิตร : 26/09/2550 )

การดูแลรักษา

เมล็ดพันธุ์ถั่วโหลงส่วนมากจะไม่นิยมเก็บรักษาไว้นาน เนื่องจากมีการเสื่อมคุณภาพรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิสูง หากเกษตรกรต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วโหลงไว้ปลูกข้ามฤดู จะต้องเก็บเมล็ดไว้ในสภาพที่ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิได้ ซึ่งต้องมีการลงทุนสูง ดังนั้น การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วโหลงมักจะเก็บไว้ในระยะเวลาสั้นเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น คล้ายกับการดูแลรักษาถั่วเหลือง (ศรีจันทร์ วิจิตร : 26/09/2550 )

การนำมาแปรรูป

ถั่วโหลง ขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวจะไม่ค่อยยากนักและตากประมาณหลาย ๆ แดดเก็บถั่วโหลง เอามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเช่น แกงถั่วโหลง ถั่วโหลงคั่ว หรือนำมาทำ ถั่วแปหล่อ ที่ทานเป็นขนมขบเคี้ยวได้ และยังเป็นสินค้าของฝากของแม่ฮ่องสอนอีกด้วย


ประเภทของถั่วหลวง 

เป็น พืชตระกูลถั่วแปบเลื่อยคลานตามพื้นดินมีฝักคล้ายถั่วแปบเป็นพืชคุมดิน 
(ศรีจันทร์ วิจิตร : 26/09/2550 )

ชนิดของถั่วหลวง 

เมล็ดถั่วโหลงชนิดพันธุ์น้ำคง เมล็ดจะมีขนาดใหญ่มาก ๆ (ศรีจันทร์ วิจิตร : 26/09/2550)

โรคที่พบมากในพืชถั่วเหลือง

โรคที่เกิดจากเชื่อราจุดด่างดำ เมื่อยามฝักแก่และมอดเจาะเมื่อยามเก็บรักษาเอาไว้ในถุง
มีความชื่นทำให้เสียเร็วกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ ( ศรีจันทร์ วิจิตร : 26/09/2550 )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น