สังคมศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
          มาตรฐาน ส 3.1 ม.2/2 อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธิการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัด  ม.2/1 ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ
ม.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของทางประวัติศาสตร์
ม.2/3 เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ
ประวัติอำเภอแม่สอดอำเภอ  

แม่สอดเป็นอำเภออยู่ทางซีกตะวันตก(ของแม่น้ำปิง)ของจังหวัดตาก ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404 – 2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากิจอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า บ้านพะหน่อแกต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือ พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอแม่สอดให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการ ปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก     สำหรับความเป็นมาของชื่ออำเภอนั้น สันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย ประการแรก กล่าวกันว่า อำเภอแม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ เมืองฉอดซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ตั้งประชิดชายแดนราชอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็น แม่สอดก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งอำเภอแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอดส่วนอีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจมาจากคำว่า"เหม่ช็อค" ในภาษามอญซึ่งแปลว่าพม่าตาย  อำเภอแม่สอด ที่ว่าการอำเภอปัจจุบันตั้งอยู่ในตำบลแม่สอด ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล ตำบลแม่สอด ห่างจากแนวชายแดน 6 กิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ด้วยเป็นอำเภอชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าตลอดแนวชายแดนด้านตะวันตกซึ่งมีปัญหาทางด้านการปกครอง เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยภายในประเทศ และปัญหาเกี่ยวกับระบบการปกครองภายใน ทำให้บุคคลสัญชาติพม่าพลัดถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยทำมาหากินในประเทศไทย เขตอำเภอแม่สอดเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาต่อประเทศไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและการควบคุม จนแม้ในปัจจุบันนี้ ทั้งอำเภอแม่สอดแต่เดิมนั้น เป็นเขตแทรกซึมและเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนต้องมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการและประสานงานรักษาความมั่นคงภายในอำเภอแม่สอด (ศอป. รมน. อ.แม่สอด) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณกำลังคนและอาวุธเป็นจำนวนไม่น้อยและในปัจจุบันการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่อำเภอ ได้หยุดการเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาดแล้ว ไม่ว่าทางด้านการเมืองหรือการทหารตั้งแต่ปลายปี 2542 เนื่องจากการดำเนินการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลได้ผลตามเป้าหมายที่ว่าการอำเภอแม่สอดในอดีตแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  10 ตำบล 84 หมู่บ้าน 3 เทศบาล 9 อบต.มีประชากรทั้งสิ้น 107,018 คน เป็นชาย 53,999 คน หญิง 53,019 คน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986 ตร.กม.บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอดีตแผนที่อำเภอแม่สอด1.ต.แม่กุ  2.ต.แม่กาษา  3.ต.ท่าสายลวด  4.ต.มหาวัน  5.ต.แม่ปะ6.ต.แม่ตาว  7.ต.พระธาตุผาแดง  8.ต.ด่านแม่ละเมา  9.ต.พระวอ  10.ต.แม่สอดประวัติความเป็นมา :มีหลักฐานว่าเมื่อ 150 ปีที่ผ่านมา บริเวณที่ตั้งต.ท่าสายลวด ปัจจุบันนี้ยังมีสภาพป่ารกทึบ ไม่มีผู้คนอาศัยและติดกับฝั่งแม่น้ำเมย จนกระทั่งมีกลุ่มคนไทยซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าอพยพมาตั้งหลักฐานอยู่บริเวณบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมย โดยการปลูกไร่อ้อยและยาสูบต่อมาไม่นานก็มีการขยายตัวของหมู่บ้าน ประกอบกับบริเวณหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำเมยมีการติดตั้งสายโทรเลขจากฝั่งสหภาพพม่า เมืองกรุกกริก ถึงประเทศไทย จนถึงตัวจังหวัดตาก สันนิษฐานว่าความร่วมมือระหว่างไทย - อังกฤษ และในแนวที่สายโทรเลขพาดผ่านนั้นจะมีการทางเดินเท้าติดตามตลอดจนถึงตัวเมืองแม่สอด เส้นทางนี้มีความสำคัญสำหรับชาวบ้านในบริเวณนี้ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมและมีการสร้างวัดใกล้ท่าน้ำ และท่าข้ามเรือบริเวณที่มีสายโทรเลขผ่นจึงเรียกว่า "วัดท่าสายโทรเลข" ต่อมามีหมู่บ้านเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเกิดการรวมตัวกันเรียกชื่อใหม่ว่า "หมู่บ้านท่าสายลวด" มาจนถึงปัจจุบัน สภาพทั่วไปของตำบล :ตำบลท่าสายลวดอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอแม่สอด ห่างจากตัวอำเภอ 7 กม. และมีระยะทางห่างจากตัวจังหวัด 93 กม. อาณาเขตตำบล :ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าทิศใต้ ติดกับ ต.แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตากทิศตะวันออก ติดกับ ต.แม่สอด, แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตากทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า จำนวนประชากรของตำบล :จำนวนหลังคาเรือน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 1,173 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 3,367 คน แยกเป็นชาย 686 คน หญิง 745 คน ข้อมูลอาชีพของตำบล :อาชีพหลัก ทำนา ทำสวนอาชีพเสริม ทำหัตถกรรม ทำน้ำอ้อย ทำข้าวแตนข้าวกล้อง ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :1. โบราณสถานคอกช้างเผือก2. โบราณสถานพระบาทพระธาตุหินกิ่วเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเชื่อมโยงไปยัง : อบต.ท่าสายลวด ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าสายลวด * :ที่อยู่ : องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวด หมู่.1 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก 63110 ติดต่อ โทรศัพท์/ แฟกซ์ 0-5556-4000เชื่อมโยงไปยัง : องค์การบริหารส่วนตำบล ท่าสายลวด

1 ความคิดเห็น: